วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

กรอบแนวความคิดในการวิจัย (Conceptual ramework)



                รวีวรรณ  ชินะตระกูล (2540).  กล่าวไว้ว่า   การเขียนทฤษฎีหรือแนวความคิดที่ใช้ในการวิจัยเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง  เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่ทำการวิจัย  ก่อนที่จะเขียนหัวข้อนี้  ผู้เขียนจำเป็นต้องอ่านทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่จะศึกษาเป็นจำนวนมากเสียก่อนว่า  มีใครเคยทำเรื่องนี้มาบ้าง  ถ้ามีใครทำ  เขาทำอย่างไร  ผลงานวิจัยเป็นอย่างไร  แล้วสรุปออกมาเป็นกรอบแนวคิดของผู้วิจัยว่าจะใช้กรอบอย่างไร

                เก่ง  ภูวนัย .  (http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 ).  กล่าวไว้ว่า   กำหนดกรอบแนวความคิดของการวิจัย ซึ่งระบุว่าการวิจัยนี้มีตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆ ในภายหลัง

                 http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6  กล่าวไว้ว่า การวิจัยในบางเรื่อง จำเป็นต้องสร้าง กรอบแนวความคิดในการวิจัยขึ้น เช่น จะศึกษาถึง พฤติกรรมสุขภาพ เมื่อเจ็บป่วย ของคนงาน อาจต้องแสดง (นิยมทำเป็นแผนภูมิ) ถึงที่มา หรือปัจจัย ที่เป็นตัวกำหนด ในพฤติกรรมดังกล่าว

                สรุป
                กรอบแนวความคิดในการวิจัย เป็นแนวทางให้กับผู้ที่ทำการวิจัย  ก่อนที่จะเขียนหัวข้อนี้  ผู้เขียนจำเป็นต้องอ่านทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่จะศึกษาเป็นจำนวนมากเสียก่อนว่า  มีใครเคยทำเรื่องนี้มาบ้าง  ถ้ามีใครทำ  เขาทำอย่างไร   แล้วสรุปออกมาเป็นกรอบแนวคิดของผู้วิจัยว่าจะใช้กรอบอย่างไร และตัวแปรเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างไรก่อน แล้วจึงเขียนสมมติฐานที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในลักษณะที่เป็นข้อๆ ในภายหลัง
              
            อ้างอิง
รวีวรรณ  ชินะตระกูล.  (2540) .  โครงร่างวิจัย. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด  ภาพพิมพ์.
เก่ง  ภูวนัย (http://blog.eduzones.com/jipatar/85921)ออนไลน์    )  สืบค้นเมื่อวันที่  12  พฤศจิกายน ..2555
 http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6 เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น