วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ชื่อเรื่อง (the title)

        http://rforvcd.wordpress.com กล่าวไว้ว่า     การเขียนชื่อเรื่องวิจัยต้องให้กระชับ กะทัดรัด แสดงถึงความสัมพันธ์ของตัวแปรหรือประเด็นที่ต้องการจะศึกษาอย่างครบถ้วนผู้วิจัยต้องกำหนดชื่อหัวข้อปัญหาลงไปให้ชัดเจนว่า ปัญหานั้นคืออะไร ซึ่งการตั้งชื่อหัวข้อปัญหาการวิจัยนั้น  รศ.ดร.ภญ. กัญญดา  อนุวงศ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พวงรัตน์ ทวีรัตน์ (2540) สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2544) อ้างจาก ศรีสุดา คล้ายคล่องจิตร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ไพทูรย์  เวทการ. (2540.) ได้ให้ข้อคิดในการตั้งหัวข้อ ปัญหางานวิจัยไว้ดังนี้     
          
          พจน์ สะเพียรชัย (2549 : 23)  กล่าวไว้ว่า ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทาการศึกษาวิจัย ว่าทาอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ยกตัวอย่างเช่น ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในตลาดนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมในกรณีที่จาเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้าหนักความสาคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย เช่น โรค ติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรคของนักเรียนชาย : การเปรียบเทียบระหว่างนักเรียนอาชีวศึกษากับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายใน กรุงเทพมหานคร2547”   นอก จากนี้ ควรคานึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอด คล้องกันการเลือกเรื่องในการทาวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สาคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย ในการเลือกหัวเรื่องของการวิจัย มีข้อควรพิจารณา 4 หัวข้อ คือ
          1 ความสนใจของผู้วิจัยควรเลือกเรื่องที่ตนเองสนใจมากที่สุด และควรเป็นเรื่องที่ไม่ยากจนเกินไป
          2 ความสาคัญของเรื่องที่จะทาวิจัยควรเลือกเรื่องที่มีความสาคัญ และนาไปใช้ปฏิบัติหรือสร้างแนวความคิดใหม่ๆ ได้โดยเฉพาะเกี่ยวกับงานด้านการท่องเที่ยวหรือเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยว
          3 เป็นเรื่องที่สามารถทาวิจัยได้เรื่องที่เลือกต้องอยู่ในวิสัยที่จะทาวิจัย ได้ โดยไม่มีผลกระทบอันเนื่องจากปัญหาต่างๆ เช่นด้านจริยธรรม ด้านงบประมาณ ด้านตัวแปรและการเก็บข้อมูล ด้านระยะเวลาและการบริหาร ด้านการเมือง หรือเกินความสามารถของผู้วิจัย
          4 ไม่ซ้าซ้อนกับงานวิจัยที่ทามาแล้วซึ่งอาจมีความซ้าซ้อนในประเด็นต่างๆ ที่ต้องพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยง
            ได้แก่ ชื่อเรื่องและปัญหาของการวิจัย (พบมากที่สุด) สถานที่ที่ทาการวิจัย ระยะเวลาที่ทาการวิจัย วิธีการ หรือระเบียบวิธีของการวิจัย

           ภัทรา  นิคมานนท์ (2548 : 13)  กล่าวไว้ว่า ความหมายของ การประมวลเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ว่า เป็นการศึกษาค้นคว้าข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัยที่ผู้วิจัย ต้องการทำในแง่มุมต่างๆ เพื่อหาประเด็นของเรื่องที่จะทำวิจัยว่า มีความหมายอย่างไร  มีองค์ประกอบใดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ผู้วิจัยจะทำบ้าง  มีทฤษฎีอะไรบ้างที่กล่าวถึงเรื่องของปัญหาการวิจัยนั้น  ปัญหาการวิจัยนั้นผู้วิจัยควรศึกษาในขอบข่ายที่กว้างขวางเพียงไร  และควรศึกษาในแง่มุมใดจึงจะน่าสนใจ  มีใครทำวิจัยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจจะทำอยู่แล้วบ้าง  งานวิจัยนั้นศึกษากับกลุ่มตัวอย่างใด  มีวิธีการศึกษาอย่างไร  ผลการวิจัยเป็นอย่างไร       ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าดังกล่าวจะเป็นแนวทางในการกำหนดแบบแผนของการ วิจัยที่ผู้วิจัยจะทำต่อไปได้

         
           
           สรุป
           ชื่อเรื่องควรมีความหมายสั้น กะทัดรัดและชัดเจน เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร  ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ชื่อที่ยาวมากๆ อาจแบ่งชื่อเรื่องออกเป็น 2 ตอน โดยให้ชื่อในตอนแรกมีน้ำหนักความสำคัญมากกว่า และตอนที่สองเป็นเพียงส่วนประกอบหรือส่วนขยาย  นอกจากนี้ ควรคำนึงด้วยว่าชื่อเรื่องกับเนื้อหาของเรื่องที่ต้องการศึกษาควรมีความสอด คล้องกันการเลือกเรื่องในการทำวิจัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ที่ต้องพิจารณารายละเอียดต่างๆ หลายประเด็น โดยเฉพาะประโยชน์ที่จะได้รับจากผลของการวิจัย
         
          อ้างอิง  
 
http://rforvcd.wordpress.com  เข้าถึงเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2555
พจน์ สะเพียรชัย. (2549 ). หลักเบื้องต้นสาหรับการวิจัยทางการศึกษา . กรุงเทพฯ : วิทยาลัย
         วิชาการศึกษา ประสานมิตร
ภัทรา นิคมานนท์. (2548 ). การประเมินผลการเรียน. กรุงเทพมหานคร : ทิพยวิสุทธิ์.
        

   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น