วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

รูปแบบการวิจัย ( Research Design )


http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6  กล่าวไว้ว่ารูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม จะช่วยป้องกัน หรือลดอคติ หรือความคลาดเคลื่อนอย่างมีระบบ (systematic error) อันอาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยได้ รูปแบบการวิจัย เปรียบเสมือนโครงสร้างของบ้าน จะมีลักษณะอย่างไร ขึ้นกับคำถาม และวัตถุประสงค์ของการวิจัย ส่วนระเบียบวิธีวิจัย (research methodology) เปรียบเสมือนการตกแต่งภายใน ซึ่งจำเป็นต้องสอดคล้องกับโครงสร้างของบ้าน (design) ดังนั้น ในการเขียนโครงร่างการวิจัย จึงจำเป็นต้อง กำหนดรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม
การจำแนกรูปแบบการวิจัย ตามวิธีการดำเนินการวิจัย สามารถแบ่งการวิจัยได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ การวิจัยโดยการสังเกต (observational research) และการวิจัยเชิงทดลอง(experimental research) ขึ้นอยู่กับว่า ตัวแปรอิสระ ซึ่งอาจได้แก่ ปัจจัยเสี่ยง (risk factor หรือ exposure) หรือสิ่งที่เราต้องการประเมิน หรือทดสอบ (เช่น ยา วิธีการรักษา โครงการต่าง ๆ) ซึ่งเรียกว่า "สิ่งแทรกแซง" (intervention) นั้น ผู้วิจัยเป็นผู้กำหนด (assign) ให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา หรือตัวอย่างที่นำมาศึกษานั้น ได้รับปัจจัยเสี่ยงนั้นอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวัน หรือได้รับอยู่แล้ว ตามธรรมชาติ (ที่เรียกว่า natural exposure) โดยที่ผู้วิจัย ไม่ได้เข้าไปควบคุม หรือแทรกแซงแต่อย่างใด
การวิจัยใดก็ตาม ที่ผู้วิจัยไม่มีการกำหนดปัจจัยเสี่ยง หรือสิ่งแทรกแซง ให้กับตัวอย่างที่นำมาศึกษา แต่ตัวอย่างเหล่านั้น ได้รับ หรือสัมผัส กับปัจจัยเสี่ยงนั้น ๆ อยู่แล้ว ในการดำเนินชีวิตประจำวันของเขา โดยผู้วิจัย เป็นแต่เพียงเฝ้าติดตาม สังเกตดูผลที่จะเกิดขึ้น การวิจัยที่เป็นแต่เพียง การเฝ้าสังเกตนี้ จึงได้ชื่อว่า การวิจัยโดยการสังเกต(observational research)
การวิจัยโดยการสังเกต สามารถจำแนกได้เป็น 2 ชนิด ขึ้นอยู่กับว่า การวิจัยนั้น มีกลุ่มควบคุม (Control group) หรือ กลุ่มเปรียบเทียบ (comparison group) หรือไม่ดังนี้p>
ก. การวิจัยโดยการสังเกตเชิงพรรณนา (Observational Descriptive Studies) เป็นการวิจัยโดยการสังเกต ที่ไม่มีกลุ่มเปรียบเทียบ อาจจำแนกได้เป็น 2 ชนิด ตามเกณฑ์ลำดับเวลาที่ศึกษา คือ
(1) การวิจัยเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (แบบตัดขวาง) (Cross-sectional Descriptive Studies)
(2) การวิจัยเชิงพรรณนาระยะยาว (Longitudinal Descriptive Studies)
ข. การวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์ (Observational Analytic Studies) เป็นการวิจัยโดยการสังเกต ที่มีกลุ่มควบคุม หรือกลุ่มเปรียบเทียบ อาจจำแนกได้เป็น 3 แบบ ตามเกณฑ์ของเวลาที่ีศึกษา (ดูภาพที่ 7)
(1) การวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิดไปข้างหน้า (Prospective Analytic Studies หรือ Cohort Studies) เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ที่เริ่มศึกษาจากเหตุ ไปหาผล
(2) การวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิด
(3) การวิจัยเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional Analytic Studies) เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ ที่ผลและเหตุเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ในจุดที่ทำการศึกษา ไม่ทราบว่าใครเกิดก่อน เกิดหลัง
   
                    
                บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2533:16)  กล่าวไว้ว่า รูปแบบการวิจัย(Research Design)เป็น การสำรวจให้ทราบว่าประเด็นปัญหาในทำนองที่สนใจนั้น มีใครทำวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับตัวแปรที่ศึกษามีอะไรบ้าง มีการควบคุมตัวแปรภายนอกอย่างไร มีอะไรบ้างเป็นประชากร สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการอย่างไร เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร ใช้สถิติอะไรบ้าง

 เรืองอุไร ศรีนิลทา (2535:228  กล่าวไว้ว่า รูปแบบการวิจัยจะต้องมีรูปแบบ(format)ตาม ที่หน่วยงานที่กำกับการดำเนินงานวิจัยหรือองค์กรที่จะตีพิมพ์งานวิจัยออกเผย แพร่กำหนด รูปแบบของการวิจัย เป็นแนวทางโดยทั่วไปของการจัดรายละเอียดให้เป็นหมวดหมู่ และการเรียงลำดับรายละเอียดของงานวิจัยนั้น รูปแบบของการเขียนรายงานวิจัยที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่มากมาย โดยปกติหน่วยงานที่กำกับการดำเนินงานวิจัยแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งองค์กรที่ตีพิมพ์รายงานการวิจัยออกเผยแพร่แต่ละองค์กรด้วย จะกำหนดรูปแบบของรายงานวิจัยนั้นขึ้น เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายถือปฏิบัติฉะนั้น ก่อนที่จะเริ่มเขียนรายงานวิจัย ผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องศึกษารูปแบบของรายงานการวิจัยที่หน่วยงานกำกับการ ดำเนินงานวิจัยของตน และองค์กรที่ตนประสงค์จะให้ตีพิมพ์รายงานวิจัยของตนออกเผยแพร่  กำหนดและทำ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้กับรายละเอียดที่สำคัญต่างๆของรูปแบบนั้น  แล้ว ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในการเขียนรายงานวิจัย

 สรุป
  รูปแบบของการวิจัย เป็นแนวทางโดยทั่วไปของการจัดรายละเอียดให้เป็นหมวดหมู่ และการเรียงลำดับรายละเอียดของงานวิจัยนั้น รูปแบบของการเขียนรายงานวิจัยที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่มากมาย โดยปกติหน่วยงานที่กำกับการดำเนินงานวิจัยแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งองค์กรที่ตีพิมพ์รายงานการวิจัยออกเผยแพร่แต่ละองค์กรด้วย จะกำหนดรูปแบบของรายงานวิจัยนั้นขึ้น เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายถือปฏิบัติฉะนั้น ก่อนที่จะเริ่มเขียนรายงานวิจัย ผู้วิจัยจึงจำเป็นต้องศึกษารูปแบบของรายงานการวิจัยที่หน่วยงานกำกับการ ดำเนินงานวิจัยของตน และองค์กรที่ตนประสงค์จะให้ตีพิมพ์รายงานวิจัยของตนออกเผยแพร่  


 อ้างอิ
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6 เข้าถึงเมื่อ 25 ธันวาคม 2555
              บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.  (2533).  การวิจัย การวัดและประเมินผล.กรุงเทพฯ:
                            โรงพิมพ์ศรีอนันต์.
              เรืองอุไร ศรีนิลทา.  (2535).  ระเบียบวิธีวิจัย.กรุงเทพฯสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม 
                             มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น