วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

ถ้า...อกหัก ทำยังไงให้หายเศร้า


เริ่มที่ตัวเองก่อน
      ไม่มีใครช่วยเราได้ดีเท่ากับเราช่วยตัวเองหรอก จะทุกข์หรือไม่ทุกข์ จะสุขหรือจะเศร้า ทุกอย่างล้วนแต่เริ่มที่ตัวเราทั้งนั้น
 

1. อย่าโทษตัวเอง: จะโทษตัวเองหรือคิดแต่ว่ามันเป็นความผิดของเราเองที่ทำให้เรากับเขาต้องเลิกกัน หรือเป็นความผิดของเขาที่ทำให้เรื่องกลายเป็นแบบนี้ มาคิดในตอนนี้ก็ไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว เพราะมันผ่านมาแล้ว สิ่งที่ทำได้ในตอนนี้คือนำเอาความผิดพลาดที่เราหรือเขาเคยทำมาเป็นบทเรียน เราจะได้ไม่ทำพลาดอีกนั่นเอง

2. ให้เวลากับตัวเอง : หาอะไรทำ อย่ามัวแต่นั่งจมมองดูรูปเก่าๆ ฟังเพลงเศร้าๆ แล้วนั่งร้องไห้ฟูมฟาย เอาเวลาที่มีมาปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นดีกว่า

3. อย่ารับรู้เรื่องของอีกฝ่าย : อย่าไปแอบดูเฟสบุ๊คของเขา ถ้าเราไม่รับรู้เรื่องของเขาเลยจะทำให้เราทำใจได้ไวขึ้น  รวมถึง Social Network อื่นๆ อย่าง Instagram Line Whatsapps และเบอร์โทรศัพท์ของเขาก็ลบไปเลย
 

4. อย่ารีบมีแฟนใหม่ :  คนไหนที่คิดว่าจะประชดเขาด้วยการควงคนใหม่ซะเลย อยากบอกคำเดียวว่าช้าก่อน!! เพราะการทำแบบนี้ไม่ดีมากๆ เลย ถ้าคนใหม่ของเรามารู้ทีหลัง เขาจะเสียความรู้สึกขนาดไหน และตัวเราเองก็ด้วยที่จะเสียใจในภายหลัง

หากิจกรรมทำ
- ออกไปชอปปิ้งกับเพื่อน ::  เพราะเวลาที่เราอยู่กับเพื่อนที่เราสนิท เราจะลืมความทุกข์ทุกอย่างไปเลย เพราะจะมีแต่เรื่องชอปปิ้ง เรื่องกิน และเรื่องเม้าเท่านั้น เรื่องซีเรียสอะไรแทบไม่รู้จัก รู้แต่เรื่องฮาๆ สนุกๆ เท่านั้น เพราะฉะนั้น ใครที่กำลังเหงาๆ เศร้าๆ ต้องรีบชวนเพื่อนๆ ออกไปแฮงค์-เอ้ากันซะอย่ามัวแต่เศร้าเหงาหงอยอยู่ที่บ้านเลย
 

- ถ้าไม่ไหวจริงๆ ลองระบายให้ใครซักคนฟัง :: ถ้ารู้สึกไม่ไหวจริงๆ ลองเล่าให้คนที่เราไว้ใจฟังค่ะ อาจจะเป็นเพื่อนสนิท พี่ หรือคุณพ่อคุณแม่ก็ได้ การได้ระบายความในใจออกมาจะทำให้เราเศร้าน้อยลง มันช่วยได้เยอะจริงๆ
 

- ไปเที่ยวไกลๆ :: ชวน คุณพ่อคุณแม่ไปเที่ยวต่างจังหวัด ไปในที่ที่แปลกใหม่ ที่ที่เรายังไม่เคยไป เพื่อเปิดหูเปิดตาได้พอเจออะไรใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้เราลืมความเศร้าไปได้ (แต่อย่าชวนคุณพ่อคุณแม่ไปในที่ที่เคยไปกับเขาล่ะ เดี๋ยวน้ำตาจะแตกมากกว่าสนุกนะ)
 

- เปลี่ยนเป็นคนใหม่ :: อย่าได้แคร์ เดินเข้าร้านทำผมแล้วจัดการเปลี่ยนทรงผมซะเลย อาจจะลองเปลี่ยนสไตล์การแต่งตัวให้ดูดีขึ้น หรือลองในสไตล์ที่เราไม่เคยทำ เชื่อเถอะว่าเขาคนนั้นจะต้องตกตะลึงแน่ๆ ที่เห็นเราดูดีขึ้น

- ลองหาฮอบบี้เจ๋งๆ :: ถ้าคนไหนเคยไปเล่นกีฬาหรือมีงานอดิเรกกับคนนั้นล่ะก็ เปลี่ยนสไตล์งานอดิเรกของเราเลย อย่างเมื่อก่อนเราอาจจะชอบไปตีแบต ตอนนี้เราอาจจะไปลงเรียนคอร์สโยคะหรือไปว่ายน้ำแทน เราจะได้เจอคนใหม่ๆ สถานที่ใหม่ๆ เผลอๆ เราอาจจะลืมเขาคนเก่าไปเลยก็ได้

วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ภาคผนวก (Appendix)


 http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-18  ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า สิ่งที่นอยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บ หรือบันทึกข้อมูล เป็นต้น เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค แต่ภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่
              
              http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 กล่าวไว้ว่า สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่
        
            ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544 : 392) กล่าวไว้ว่า  ภาคผนวกเป็นรายละเอียดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ต้องนำเสนอ ยืนยันเพื่อแสดงถึงการดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบ และเพิ่มความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยอีกทั้งจะเป็นการช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจ รายงานการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น และได้เห็นแบบอย่างหรือแนวทางการดำเนินงานในบางประการ ภาคผนวกมีหลายลักษณะซึ่งอาจนำเสนอแยกเป็นหมวดหมู่เป็นภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ภาคผนวก ค ฯลฯ และอาจเรียงลำดับตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัย 

          
             สรุป        
             ภาคผนวกคือ ข้อมูลในส่วนที่ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลต่างๆในงานวิจัยเพื่อให้เกิดความเข้า ใจมากขึ้นโดยเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นที่จะต้องนำมเสนอในส่วนเนื้อหาหลักแต่นำ มาใส่เอาใว้ในตอนท้ายของรายงานการวิจัยแทน เช่น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบฟอร์มการเก็บรวบรวมข้อมูล ฯลฯ

            
           อ้างอิง
 http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-18   สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2556

 http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2556
ดร.พิชิต ฤทธิ์จรูญระเบียบวิธีการวิจัยทางสัมคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : ศูนย์
                หนังสือราชภัฏพระนคร, 2544


เอกสารอ้างอิง (References)


   http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-18  กล่าวไว้ว่า ในวิทยานิพนธ์ แต่ละเรื่อง จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเขียนวิทยานิพนธ์เรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก (การเขียน เอกสารอ้างอิง ให้อนุโลม ตามคู่มือ การพิมพ์วิทยานิพนธ์ ของบัณฑิตวิทยาลัย)
การเขียนเอกสารอ้างอิงตาม "Vancouver Style" ให้เรียบลำดับ ด้วยนามสกุล ของผู้เขียน ตามด้วยอักษรย่อ ของชื่อต้น และชื่อกลาง ทุกคน แต่ถ้าผู้เขียน มากกว่า 6 คน ให้เขียนเพียง 6 คน แล้วตามด้วย et al
  
                 
                   วัลลภ ลำพาย. (2547: 178). กล่าวไว้ว่า เอกสารอ้างอิงคือ ส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่าง ๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัย เอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิง การจัดลำดับของเอกสารอ้างอิงนั้น จัดลำดับตามตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง ซึ่งถ้าเป็นภาษาไทยจะเป็นชื่อต้น แต่ถ้าเป็นภาษาต่างประเทศจะเป็นชื่อท้าย จัดลำดับเอกสารภาษาไทยก่อนแล้วตามด้วยภาษาต่างประเทศ



                http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  กล่าวไว้ว่า เอกสารอ้างอิง (references)หรือ บรรณานุกรม (bibliography) ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย  จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style

               
                สรุป 
                เอกสารอ้างอิง คือ ส่วนท้ายของงานวิจัย  เป็นส่วนที่ประกอบด้วยรายการเอกสารต่าง ๆ ที่ได้อ้างอิงไว้ในวิทยานิพนธ์หรือรายงานการวิจัย เอกสารทุกเล่มที่อ้างอิงไว้ในส่วนของเนื้อหาจะต้องปรากฏอยู่ในเอกสารอ้างอิง การจัดลำดับของเอกสารอ้างอิงนั้นโดยรวบรวมไว้ตอนท้ายของรายงานเพื่อเป็น ประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจได้ติดตามศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารเหล่านั้น

                 
                 อ้างอิง
วัลลภ ลำพาย. (2547). เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิยาลัย
            เกษตรศาสตร์. 
 http://blog.eduzones.com/jipatar/85921  เข้าถึงเมื่อ  5 มกราคม 2556