วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures)



จักรกฤษณ์  สำราญใจ .(2550).  กล่าวว่า วรรณกรรมหรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง (related literature) หมาย ถึง เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอาจมีหลายลักษณะ เช่น เป็นตำรา สารานุกรม พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสาร ที่สำคัญก็คือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์ ทักษะที่สำคัญของการทำวิจัยในขั้นตอนนี้คือ ทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

http://e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter3.pdf  กล่าว ไว้ว่า วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วยแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัย หรือเกี่ยวข้องกับตัวแปรการวิจัย ที่ผู้วิจัยต้องไปศึกษาหรือทบทวนมาก่อนที่จะตั้งสมมุติฐานการวิจัย เพื่อเป็นการบอกว่าผลการวิจัยที่คาดการณ์ไว้หรือเดาไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะลง มือทำวิจัยนั้นมาจากวรรณกรรมที่ได้ทบทวนมาก่อนหน้านี้
 
https://sites.google.com/site/businessresearce/kar-wicay-thang-thurkic/kar-kheiyn-xeksar-laea-ngan-wicay-thi-keiywkhxng กล่าวว่า การศึกษาผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือการตรวจเอกสาร (Review of related literature) บางตำราเรียกว่า การทบทวนวรรณกรรม เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ทราบว่าเรื่องที่จะทำวิจัยนั้นได้มีใครทำวิจัยเรื่องนี้ไว้บ้าง หากมีผู้ทำวิจัยแล้ว ควรพิจารณาเรื่องการใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง วิธีการเก็บข้อมูล การใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้งานวิจัยของผู้วิจัยมีความน่าสนใจ และเลือกตัวแปรในการวิจัยได้ดีขึ้น วัตถุประสงค์ของบทนี้มีดังต่อไปนี้
1.       อธิบายความหมาย ประโยชน์ที่ได้รับจากการทบทวนวรรณกรรมได้
2.      สามารถบอกแหล่งที่ใช้ในการค้นหาวรรณกรรมได้
3.      สามารถสืบค้นวรรณกรรมได้
4.       สามารถเขียนรายงานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยได้
การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เรียกว่าการตรวจเอกสาร(Review of Related Literature) เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ทราบเรื่องที่ตนกำลังทำวิจัยนั้น ได้มีหลักการและทฤษฎีอะไรบ้างและได้ผลเป็นอย่างไร หากมีผู้ทำวิจัยไว้แล้วจะต้องพิจารณาต่อไปว่ามีการใช้ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง และการเก็บข้อมูลอย่างไร การใช้สถิติวิเคราะห์ ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นอย่างไร ดังนั้นการศึกษาเอกสารหรือวรรณกรรมนั้นจำเป็นต้องการอ่านเก็บรวบรวมประเด็นแนวคิด ระเบียบวิธีการวิจัยจองผลงานวิจัย หรือเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ หรือประเด็นของปัญหาการวิจัย คำว่า วรรณกรรมในที่นี่หมายถึง ผลงานวิจัยและทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้จุดประสงค์หลักในการศึกษาผลงานวิจัย คือการศึกษาดูว่าในประเด็นที่ต้องการวิจัยนั้นมีผู้ใดได้ศึกษาหรือเขียนทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้มาแล้วบ้างและได้ค้นพบอะไรหรือได้อธิบายไว้อย่างไร มีตัวแปรอะไรบ้างที่เคยผ่านการศึกษาหรือใช้อธิบายมาบ้างแล้ว ตัวแปรใดบ้างที่สำคัญหรือไม่สำคัญ สมมุติฐานและคำอธิบายต่างๆ ที่ผู้วิจัยในอดีตใช้ในการศึกษา ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและปัญหาที่เกิดขึ้นจากระเบียบวิธีวิจัยและเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการวัดผลและคำนิยามของตัวแปรต่างๆ ที่ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล และผลที่ได้จากการวิเคราะห์ตลอดจนข้อสรุป การอภิปรายผล ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย และนักทฤษฎีในอดีตเกี่ยวกับประเด็นที่ทำวิจัย
ในการศึกษาผลการวิจัย ผู้ทำวิจัยควรทำการจดบันทึกสิ่งต่างๆ ที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมแต่ละชิ้นลงในบัตร เพื่อความสะดวกในการอ้างอิง และนำมาใช้เรียบเรียงในขั้นตอนต่อไป นอกจากเนื้อหาสาระที่ต้องการบันทึกแล้ว ผู้ทำวิจัยควรบันทึกชื่อบทความ ชื่อผู้เขียน ชื่อผลงานวิจัย ชื่อตำรา ชื่อวารสารหรือสิ่งพิมพ์ ตลอดจนเลขที่ของฉบับ ครั้งที่ของการพิมพ์เดือนและปีที่บทความนั้นได้รับการตีพิมพ์ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกแก่การอ้างอิงและการค้นคว้าเพิ่มเติมในภายหลัง เป็นต้น

    สรุป
  การ ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจะทำให้ผู้วิจัยทราบว่ามีปัญหาที่น่าสนใจอะไร บ้างในสาขาวิชาที่ตนจะทำวิจัยที่มีผู้ทำการศึกษาแล้ว และปัญหาอะไรบ้างที่ยังไม่มีผู้ทำการศึกษาวิจัย สามารถจะหลีกเลี่ยงการวิจัยซ้ำซ้อน และมีความคิดริเริ่มแปลกใหม่ขึ้นมาจากความสำคัญข้อนี้หรือเกี่ยวข้องกับตัว แปรการวิจัย ที่ผู้วิจัยต้องไปศึกษาหรือทบทวนมาก่อนที่จะตั้งสมมุติฐานการวิจัย เพื่อเป็นการบอกว่าผลการวิจัยที่คาดการณ์ไว้หรือเดาไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะลง มือทำวิจัยนั้นมาจากวรรณกรรมที่ได้ทบทวนมา

    อ้างอิง
จักรกฤษณ์  สำราญใจ. (2550). การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง. 
http://e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter3.pdf เข้าถึงเมื่อวันที่  25  ธันวาคม  2555


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น