วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology)


http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6  กล่าวไว้ว่า การเขียนโครงร่างการวิจัย ในส่วนที่เกี่ยวกับ "ระเบียบวิธีวิจัย" นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ
ก. ประชากร (Population) และตัวอย่าง (Sample)
ข. การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement)
1. ประชากร (Population) และตัวอย่าง (Sample) การเขียนในส่วนนี้ต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
1.1 หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก ประชากรและตัวอย่าง โดยมักจะกำหนด กฏเกณฑ์ในการคัดเลือก (diagnostic criteria) พร้อมทั้งมีเหตุผล ประกอบชัดเจน ในหลักเกณฑ์แต่ละข้อ ซึ่งรวมทั้ง กฏเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้ามาศึกษา (inclusion criteria) และกฏเกณฑ์ในการ ตัดออกจากการศึกษา (exclusion criteria) โดยกฏเกณฑ์เหล่านี้ จะมีผลต่อการขยายผล (generalize) การวิจัยไปใช้ ถ้ากฏเกณฑ์มีการจำเพาะมาก เช่น มีกฏเกณฑ์ในการตัดคนไข้ ออกจากการศึกษามากมาย การขยายผลการศึกษา ไปยังประชากรเป้าหมาย จะเป็นไปอย่างจำกัด แต่ผลการศึกษา จะมีความไว ในการตอบคำถามได้ดี
1.2 เทคนิคในการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Techniques) ให้ระบุถึง วิธีการในการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งโดยทั่วไหแล้ว ตัวอย่าง (Sample) ต้องมีลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับประชากรตัวอย่าง(population sampled) มากที่สุด เพื่อสามารถจะเป็นตัวแทน (representative) และทำให้สามารถนำผลการวิจัย ขยายผลไปยังประชากรเป้าหมาย (arget population) ได้ 
ก่อนดำเนินการสุ่มตัวอย่าง ควรมีการกำหนด หน่วยตัวอย่าง (sampling unit) และกรอบตัวอย่าง (sampling frame) ให้ชัดเจนก่อน
เทคนิคในการสุ่มตัวอย่างแบ่งใหญ่ ๆ ได้เป็น 2 วิธีคือ
ก. การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัย ทฤษฏีความน่าจะเป็น (Probability Sampling) ทำให้ทราบถึง โอกาสของแต่ละหน่วยตัวอย่าง ที่จะถูกเลือกเข้ามาศึกษา เช่น
(i) การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
(ii) การสุ่มตัอวย่างแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling)
(iii) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)
(iv) การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling)
(v) การสุ่มตัอวย่างแบบหลายขั้นตอน (Muti - stage Random Sampling)
ข. การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ได้อาศัย ทฤษฏีความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) การเลือกตัวอย่างแบบนี้ ผู้วิจัยไม่ทราบถึง โอกาสที่หน่วยตัวอย่าง จะถูกเลือกเข้ามาศึกษา และไม่ทราบว่า ตัวอย่างแต่ละหน่วน ที่ถูกเลือกเข้ามา จะมีโอกาสถูกเลือก เท่ากันหรือไม่ ทำให้ตัวอย่างที่เลือกมา ยากที่จะเป็นตัวแทนที่ดี ของประชากรตัวอย่างได้ การขยายผลสู่ประชากร จึงมักทำไม่ได้ เช่น
(i) เลือกตามความสะดวก (Convenient Sampling)
(ii) เลือกโดยความบังเอิญ (Accidental Sampling)
(iii) เลือกโดยการกำหนดจำนวนไว้ก่อน (Quota Sampling)
(iv) เลือกโดยความจงใจ (Purposive Sampling)
1.3 การคำนวณขนาดตัวอย่าง (Sample Size Determination) งานวิจัย ที่ขนาดตัวอย่าง น้อยเกินไป จะไม่สามารถ ตอบคำถามอะไรได้ แต่ถ้าตัวอย่างมากเกินไป แม้ว่าจะตอบคำถามได้ แต่ก็เป็นการสิ้นเปลือง ดังนั้น การคำนวณขนาดตัวอย่าง จึงเป็นสิ่งจำเป็น ขนาดตัวอย่าง ที่คำนวณได้ จะเป็นจำนวนตัวอย่าง ที่น้อยที่สุด ที่สามารถตอบคำถามหลัก (Primary research question) ของการวิจัยนั้น ๆ ได้
สูตรในการคำนวนขนาดตัวอย่าง จะขึ้นกับเรื่องที่จะศึกษา และรูปแบบการวิจัย ว่าเป็นการศึกษาตัวอย่าง กลุ่มเดียว สองกลุ่ม หรือมากกว่า 2 กลุ่ม
2. การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement) โครงร่างการวิจัยในส่วนนี้ ควรจะกล่าวถึง
2.1 ตัวแปรในการวิจัยนี้ โดยมีการกำหนด ตัวแปรหลัก (ทั้งตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม) โดยให้คำนิยามเชิงปฏิบัติ ที่แน่นอน และชัดเจน (ดูหัวข้อที่ 7) และระบุว่า ตัวแปรอะไรบ้าง เป็นตัวแปรที่ไม่ต้องการ (confounding factors) ที่ผู้วิจัย จำเป็นต้องควบคุม โดยระบุถึงวิธีในการควบคุม ตัวกวนเหล่านี้ เพื่อไม่ให้มีอิทธิพล ต่อตัวแปรหลักด้วย และควรระบุลงไปว่า ตัวแปรต่าง ๆ ที่กำหนดไว้นั้น จะวัดผลโดยใช้มาตร (scale) อะไร (ระดับแบ่งกลุ่มระดับจัดอันดับระดับช่วง หรือวัดค่าที่แท้จริง) รวมถึงหลักเกณฑ์ ในการเลือกตัวแปรเหล่านี้ด้วย
2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปร โดยระบุว่า จะใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบบันทึก (record form), เครื่องมือในการชั่งตวงวัด หรือนับ เครื่องมือนั้น จะสร้างขึ้นใหม่ หรือใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้ว รวมทั้ง การควบคุมคุณภาพ ของเครื่องมือ ขณะนำไปใช้ด้วย
3. วิธีการ หรือ สิ่งแทรกแซง (Intervention) การวิจัยเชิงทดลอง จะมีการกำหนด สิ่งแทรกแซง ให้กับตัวอย่าง ที่นำมาศึกษา ซึ่งควรอธิบาย ให้รายละเอียดว่า ใครทำอะไรให้แก่ใครด้วยวิธีอย่างไรโดยต้องระบุให้ชัดเจน เกี่ยวกับตัวยา (formulation), ขนาดยา (dose), วิธีการในการให้ มีการปรับขนาดยาหรือไม่อย่างไรรวมถึงวิธีการ ในการศึกษาพิษ หรือผลข้างเคียงของยาด้วย นอกจากนี้ ควรบอกระยะเวลาในการให้ และหลักเกณฑ์ ในการเพิ่ม หรือลดขนาดยา หรือหยุดการให้ยานั้น
อคติ 3 ประการ ที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างการให้สิ่งแทรกแซง ได้แก่ contamination, co-interventionและ non-compliance จึงควรกล่าวถึง มาตรการในการป้องกัน รวมทั้งการวัด (monitor) อคติเหล่านั้นด้วย
         
           http://blog.eduzones.com/jipatar/85921 กล่าวไว้ว่า เป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัยว่าแต่ละขั้นตอนจำทำอย่างไร  โดยทั่วไปเป็นการให้รายละเอียดในเรื่องต่อไปนี้ คือ
       1.  วิธีวิจัย จะเลือกใช้วิธีวิจัยแบบใด เช่น จะใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยแบบทดลอง การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือจะใช้หลายๆ วิธีรวมกัน ซึ่งก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าจะใช้วิธีอะไรบ้าง
        2.  แหล่งข้อมูล จะเก็บข้อมูลจากแหล่งใดบ้าง เช่น จะเก็บข้อมูลทุติยภูมิ จากทะเบียนราษฎร์ สมุดสถิติรายปี สำมะโนประชากรและเคหะ ฯลฯ หรือจะเป็นข้อมูลปฐมภูมิ จากการสำรวจ การสนทนากลุ่ม การสังเกต การสัมภาษณ์ระดับลึก ฯลฯ เป็นต้น
       3.  ประชากรที่จะศึกษา ระบุให้ชัดเจนว่าใครคือประชากรที่ต้องการศึกษา และกำหนดคุณลักษณะของประชากรที่จะศึกษาให้ชัดเจน เช่น เพศ อายุ สถานภาพสมรส ศาสนา เขตที่อยู่อาศัย บางครั้งประชากรที่ต้องการศึกษาอาจไม่ใช่ปัจเจกบุคคลก็ได้ เช่น อาจเป็นครัวเรือน หมู่บ้าน อำเภอ จังหวัด ฯลฯ ก็ได้
        4.  วิธีการสุ่มตัวอย่าง ควรอธิบายว่าจะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใด ขนาดตัวอย่างมีจำนวนเท่าใด จะเก็บข้อมูลจากที่ไหน และจะเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างได้อย่างไร
        5.  วิธีการเก็บข้อมูล ระบุว่าจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลอย่างไร มีการใช้เครื่องมือและทดสอบเครื่องมืออย่างไร เช่น จะใช้วิธีการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ การสัมภาษณ์แบบมีแบบสอบถาม การสังเกต หรือการสนทนากลุ่ม เป็นต้น
        6.  การประมวลผลข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุการประมวลผลข้อมูลจะทำอย่างไร จะใช้เครื่องมืออะไรในการประมวลผลข้อมูล และในการวิเคราะห์ข้อมูลหรือการทดสอบสมมติฐานจะทำอย่างไร จะใช้สถิติอะไรบ้างในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถตอบคำถามของการวิจัยที่ต้องการได้
         
             http://www.gotoknow.org/blogs/posts/375613 กล่าวไว้ว่า ระเบียบวิธีการวิจัยหรือวิธีการวิจัย (Research methodology) นั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงวิตรรก (Rational research methodology) และระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์ (Empirical research methodology) ซึ่งกล่าวถึงรายละเอียดได้ดังนี้
 ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิตรรก
       เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระเบียบวิธีวิจัยเชิงเหตุผล ได้รับอิทธิพลจากสำนักคิดทางญาณวิทยาเหตุผลนิยม (Rationalism) ดังนั้นในการวิจัยจึงมีลักษณะเป็นการคิดที่ใช้เหตุผลสรุปโดยอาศัยการนิรนัย (Deductive) ความรู้ที่ได้จึงไม่ใช่ความจริงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ได้แก่ ปรัชญา ตรรกศาสตร์ เรขาคณิต และคณิตศาสตร์ เป็นต้น
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงประจักษ์
       เป็นระเบียบวิธีวิจัยที่ได้รับอิทธิพลทางความคิดจากสำนักคิดทางญาณวิทยาประจักษนิยม (Empiricism) ดังนั้นในการวิจัยจึงมุ่งค้นหาความจริงโดยใช้ประสบการณ์ที่ผ่านประสบการณ์ที่ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าเป็นหลัก ด้วยเหตุนี้ ในระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้จึงมักเริ่มต้นด้วยการสังเกต สัมผัสปรากฏการณ์ในธรรมชาติอย่างบ่อยครั้งแล้วอาศัยการสรุปแบบอุปนัย (Inductive) ตัวอย่างความรู้ความจริงที่ได้จากระเบียบวิธีวิจัยประเภทนี้ ได้แก่ ความรู้ความจริงที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติทั้งหมด

              สรุป 
การเขียนโครงร่างการวิจัย ในส่วนที่เกี่ยวกับ "ระเบียบวิธีวิจัย" นั้น สามารถแบ่งได้เป็น 2ส่วนด้วยกัน คือ
ก. ประชากร (Population) และตัวอย่าง (Sample)
ข. การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement)
1. ประชากร (Population) และตัวอย่าง (Sample) การเขียนในส่วนนี้ต้องให้รายละเอียดเกี่ยวกับ
1.1 หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก ประชากรและตัวอย่าง โดยมักจะกำหนด กฏเกณฑ์ในการคัดเลือก (diagnostic criteria) พร้อมทั้งมีเหตุผล ประกอบชัดเจน ในหลักเกณฑ์แต่ละข้อ ซึ่งรวมทั้ง กฏเกณฑ์ในการคัดเลือกเข้ามาศึกษา (inclusion criteria) และกฏเกณฑ์ในการ ตัดออกจากการศึกษา (exclusion criteria) โดยกฏเกณฑ์เหล่านี้ จะมีผลต่อการขยายผล (generalize) การวิจัยไปใช้ ถ้ากฏเกณฑ์มีการจำเพาะมาก เช่น มีกฏเกณฑ์ในการตัดคนไข้ ออกจากการศึกษามากมาย การขยายผลการศึกษา ไปยังประชากรเป้าหมาย จะเป็นไปอย่างจำกัด แต่ผลการศึกษา จะมีความไว ในการตอบคำถามได้ดี
1.2 เทคนิคในการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Techniques) ให้ระบุถึง วิธีการในการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งโดยทั่วไหแล้ว ตัวอย่าง (Sample) ต้องมีลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับประชากรตัวอย่าง(population sampled) มากที่สุด เพื่อสามารถจะเป็นตัวแทน (representative) และทำให้สามารถนำผลการวิจัย ขยายผลไปยังประชากรเป้าหมาย (arget population) ได้ 
ก่อนดำเนินการสุ่มตัวอย่าง ควรมีการกำหนด หน่วยตัวอย่าง (sampling unit) และกรอบตัวอย่าง (sampling frame) ให้ชัดเจนก่อน
เทคนิคในการสุ่มตัวอย่างแบ่งใหญ่ ๆ ได้เป็น 2 วิธีคือ
ก. การสุ่มตัวอย่างโดยอาศัย ทฤษฏีความน่าจะเป็น (Probability Sampling) ทำให้ทราบถึง โอกาสของแต่ละหน่วยตัวอย่าง ที่จะถูกเลือกเข้ามาศึกษา เช่น
(i) การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
(ii) การสุ่มตัอวย่างแบบเป็นระบบ (Systematic Random Sampling)
(iii) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling)
(iv) การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Sampling)
(v) การสุ่มตัอวย่างแบบหลายขั้นตอน (Muti - stage Random Sampling)
ข. การสุ่มตัวอย่างโดยไม่ได้อาศัย ทฤษฏีความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) การเลือกตัวอย่างแบบนี้ ผู้วิจัยไม่ทราบถึง โอกาสที่หน่วยตัวอย่าง จะถูกเลือกเข้ามาศึกษา และไม่ทราบว่า ตัวอย่างแต่ละหน่วน ที่ถูกเลือกเข้ามา จะมีโอกาสถูกเลือก เท่ากันหรือไม่ ทำให้ตัวอย่างที่เลือกมา ยากที่จะเป็นตัวแทนที่ดี ของประชากรตัวอย่างได้ การขยายผลสู่ประชากร จึงมักทำไม่ได้ เช่น
(i) เลือกตามความสะดวก (Convenient Sampling)
(ii) เลือกโดยความบังเอิญ (Accidental Sampling)
(iii) เลือกโดยการกำหนดจำนวนไว้ก่อน (Quota Sampling)
(iv) เลือกโดยความจงใจ (Purposive Sampling)
1.3 การคำนวณขนาดตัวอย่าง (Sample Size Determination) งานวิจัย ที่ขนาดตัวอย่าง น้อยเกินไป จะไม่สามารถ ตอบคำถามอะไรได้ แต่ถ้าตัวอย่างมากเกินไป แม้ว่าจะตอบคำถามได้ แต่ก็เป็นการสิ้นเปลือง ดังนั้น การคำนวณขนาดตัวอย่าง จึงเป็นสิ่งจำเป็น ขนาดตัวอย่าง ที่คำนวณได้ จะเป็นจำนวนตัวอย่าง ที่น้อยที่สุด ที่สามารถตอบคำถามหลัก (Primary research question) ของการวิจัยนั้น ๆ ได้
สูตรในการคำนวนขนาดตัวอย่าง จะขึ้นกับเรื่องที่จะศึกษา และรูปแบบการวิจัย ว่าเป็นการศึกษาตัวอย่าง กลุ่มเดียว สองกลุ่ม หรือมากกว่า 2 กลุ่ม
2. การสังเกตและการวัด (Observation & Measurement) โครงร่างการวิจัยในส่วนนี้ ควรจะกล่าวถึง
2.1 ตัวแปรในการวิจัยนี้ โดยมีการกำหนด ตัวแปรหลัก (ทั้งตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม) โดยให้คำนิยามเชิงปฏิบัติ ที่แน่นอน และชัดเจน (ดูหัวข้อที่ 7) และระบุว่า ตัวแปรอะไรบ้าง เป็นตัวแปรที่ไม่ต้องการ (confounding factors) ที่ผู้วิจัย จำเป็นต้องควบคุม โดยระบุถึงวิธีในการควบคุม ตัวกวนเหล่านี้ เพื่อไม่ให้มีอิทธิพล ต่อตัวแปรหลักด้วย และควรระบุลงไปว่า ตัวแปรต่าง ๆ ที่กำหนดไว้นั้น จะวัดผลโดยใช้มาตร (scale) อะไร (ระดับแบ่งกลุ่มระดับจัดอันดับระดับช่วง หรือวัดค่าที่แท้จริง) รวมถึงหลักเกณฑ์ ในการเลือกตัวแปรเหล่านี้ด้วย
2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวัดตัวแปร โดยระบุว่า จะใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) แบบบันทึก (record form), เครื่องมือในการชั่งตวงวัด หรือนับ เครื่องมือนั้น จะสร้างขึ้นใหม่ หรือใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้ว รวมทั้ง การควบคุมคุณภาพ ของเครื่องมือ ขณะนำไปใช้ด้วย
3. วิธีการ หรือ สิ่งแทรกแซง (Intervention) การวิจัยเชิงทดลอง จะมีการกำหนด สิ่งแทรกแซง ให้กับตัวอย่าง ที่นำมาศึกษา ซึ่งควรอธิบาย ให้รายละเอียดว่า ใครทำอะไรให้แก่ใครด้วยวิธีอย่างไรโดยต้องระบุให้ชัดเจน เกี่ยวกับตัวยา (formulation), ขนาดยา (dose), วิธีการในการให้ มีการปรับขนาดยาหรือไม่อย่างไรรวมถึงวิธีการ ในการศึกษาพิษ หรือผลข้างเคียงของยาด้วย นอกจากนี้ ควรบอกระยะเวลาในการให้ และหลักเกณฑ์ ในการเพิ่ม หรือลดขนาดยา หรือหยุดการให้ยานั้น อคติ 3 ประการ ที่อาจเกิดขึ้น ระหว่างการให้สิ่งแทรกแซง ได้แก่ contamination, co-intervention และ non-compliance จึงควรกล่าวถึง มาตรการในการป้องกัน รวมทั้งการวัด (monitor) อคติเหล่านั้นด้วย

           อ้างอิง
http://cai.md.chula.ac.th/lesson/research/re12.htm#06-6   เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน2555
http://blog.eduzones.com/jipatar/85921   เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน2555
http://www.gotoknow.org/blogs/posts/375613   เข้าถึงเมื่อ 27 พฤศจิกายน2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น