วันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism)


http://theory-tishafan.blogspot.com/p/cognitivism.html กล่าวไว้ว่าทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยมว่า กลุ่มพุทธนิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจหรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด นักคิดกลุ่มนี้เริ่มขยายขอบเขตของความคิดที่เน้นทางด้านพฤติกรรมออกไปสู่กระบวนการทางความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดที่เกิดจาการสะสมข้อมูล การสร้างความหมาย และความสัมพันธ์ของข้อมูลและการดึงข้อมูลออกมาใช้ในการกระทำและการแก้ปัญหาต่างๆ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ในการที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ตนเอง

http://www.learners.in.th/ กล่าวไว้ว่า กลุ่มพุทธินิยมเน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฏี คือ
- ทฤษฎีเกสตัลท์(Gestalt Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
- ทฤษฎีสนาม(Field Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
- ทฤษฎีเครื่องหมาย(Sign Theory) ของทอลแมน(Tolman) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง
- ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา(Intellectual Development Theory) นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่ 2 ท่าน ได้แก่ เพียเจต์(Piaget) และบรุนเนอร์(Bruner) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง
- ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล(Ausubel) เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย

         ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 กล่าวว่า เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง นักคิดกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ไม่ใช่เรื่องของพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเพียงเท่านั้น การเรียนรู้ของมนุษย์มีความซับซ้อนยิ่งไปกว่านั้น ทฤษฏีในกลุ่มนี้ที่สำคัญๆ มี 5 ทฤษฏี คือ
- ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์ บุคคลจะเรียนรู้จากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
- ทฤษฎีสนาม (Field Theory) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำให้ไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ
- ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน (Tolman) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง
- ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory) นักคิดคนสำคัญของทฤษฏีนี้มีอยู่ 2 ท่าน ได้แก่ เพียเจต์ (Piaget) และบรุนเนอร์ (Bruner) แนวความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้เน้นเรื่องพัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลที่เป็นไปตามวัยและเชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากระบวนการการค้นพบด้วยตนเอง
- ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย(A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของออซูเบล (Ausubel) เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือกรอบมโนทัศน์ หรือกรอบแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแก่ผู้เรียนก่อนการสอนเนื้อหาสาระนั้นๆ จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนเนื้อหาสาระนั้นอย่างมีความหมาย

         บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52 http://dontong52.blogspot.com/ กล่าวว่า กลุ่มพุทธนิยม หรือกลุ่มความรู้ ความเข้าใจ หรือกลุ่มที่เน้นกระบวนทางปัญญาหรือความคิด โดยเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ ในการที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แต่ตนเอง มีทฤษฎีที่สำคัญ ๆ 5 ทฤษฎี คือ

1. ทฤษฎีเกสตัลท์ (Gestalt Theory)
1) การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิดซึ่งเป็นกระบวนการภายในตัวมนุษย์
2) บุคคลจะเรียนจากสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
3) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ
- การรับรู้ (perception)
- การหยั่งเห็น
4) กฎการจัดระเบียบการรับรู้ (perception)
- กฎการรับรู้ส่วนรวมและส่วนย่อย (Law of Pragnanz)
- กฎความคล้ายคลึง (Law of Simslarity)
- กฎแห่งความใกล้เคียง (Law of Proximity)
- กฎแห่งความสมบูรณ์ (Law of Closure)
- กฎแห่งความต่อเนื่อง
- บุคคลมักมีความคงที่ในความหมายของสิ่งที่รับรู้ตามความเป็นจริง
- การรับรู้ของบุคคลอาจผิดพลาด บิดเบือนไปจากความเป็นจริงได้
5) การเรียนรู้แบบหยั่งเห็น (insight) ของโคห์เลอร์ ได้สังเกตการณ์เรียนรู้ของลิงในการทดลองพบว่า ปัจจัยสำคัญคือประสบการณ์

2. ทฤษฎีภาคสนาม (Field Theory) ของ เคิร์ท เลวิน
1) พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง
2) การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจหรือแรงขับที่จะกระทำไปสู่จุดหมายปลายทางที่ตนต้องการ

3. ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sig Theory) ของทอลแมน
1) ในการเรียนรู้ต่าง ๆ ผู้เรียนมีการคาดหมายรางวัล
2) ขณะที่ผู้เรียนพยายามจะไปให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการ
3) ผู้เรียนมีความสามารถที่จะปรับการเรียนรู้ของตนไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
4) การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้น บางครั้งจะไม่แสดงออกในทันที อาจจะแฝงอยู่ในตัวผู้เรียน

4. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Intellectual Development Theory)ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

1) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้

- ขั้นรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส อายุ 0-2 ปี

- ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด ช่วงอายุ 2-7 ปี

- ขั้นการคิดแบบรูปธรรม ช่วงอายุ 7-11 ปี

2) ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่

3) กระบวนการทางสติปัญญา

- การซึมซับหรือการดูดซึม

- การปรับและการจัดระบบ

- การเกิดความสมดุล

ทฤษฎีการพัฒนาทางสติปัญญาของบรุนเนอร์

1)โครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก

2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน

3) การคิดแบบหยั่งรู้ เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างมีอิสระ

4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้

5) ทฤษฎีพัฒนาการปัญญาของมนุษย์ แบ่งได้ 3 ขั้นตอน

- ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ

- ขั้นการเรียนรู้จากความคิด

- ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม

6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่เราสามารถสร้างความคิดรวบยอด

7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง

5. ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learning) ของเดวิด ออซูเบล เชื่อว่าการเรียนรู้จะมีความหมายแก่ผู้เรียน หากการเรียนรู้นั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่น่ารู้มาก่อน

สรุป

ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มพุทธนิยม หรือกลุ่มความรู้ ความเข้าใจ หรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด โดยเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสติปัญญาของมนุษย์ ในการที่จะสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่ตนเองเน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด ซึ่งเป็นกระบวนการภายในของสมอง

อ้างอิง

           (http://theory-tishafan.blogspot.com/p/cognitivism.html)   เข้าถึงเมื่อ2/7/2555

           http://www.learners.in.th เข้าถึงเมื่อ2/7/2555

          http://dontong52.blogspot.com/     เข้าถึงเมื่อ2/7/2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น