วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศ


http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5894.0;wap2    กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง แนวความคิด ระบบ วิธี เครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดเก็บประมวลผล ค้นคืน และเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคม รวมทั้ง การประยุกต์ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์สารสนเทศเหล่านั้นในงานสารสนเทศ หรืองานบริการด้านอื่น ๆ ซึ่งอาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ (ดวงพร เจียมอัมพร, 2541, หน้า 15-17)
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (computer technology) หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเปิดใช้บริการคอมพิวเตอร์ทั้งในไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และเวิร์คสเตชั่น ในการรับข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การบันทึกข้อมูลจากภายนอกและมีการแปลงเป็นสารสนเทศโดยผ่าน input devices ต่าง ๆ ได้แก่ แป้นพิมพ์ (keyboard) สแกนเนอร์ (scanner) เป็นต้น

2. เทคโนโลยีทางด้านการสื่อสารคมนาคม (telecommunication technology) ได้แก่ โทรศัพท์ธรรมดา โทรศัพท์เคลื่อนที่ดิจิตอล (digital mobile telephone) วิทยุติดตามตัว (pager) เป็นต้น

3. เทคโนโลยีระบบสื่อสาร (communication system technology) หมายถึงระบบการสื่อสาร และเครือข่ายที่เป็นส่วนเชื่อมในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็คทรอนิคส์ในรูปแบบ ข้อมูลดิจิตอล เช่นเครือข่ายโทรศัพท์ดิจิตอล ระบบสื่อสารเคเบิลใยแก้ว (fiber optic system) รวมถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN (wide area network) เช่น เครือข่าย Internet เป็นต้น

     ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปกันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพในการพัฒนาประเทศ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยส่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ สังคม ตลอดจนคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยทำให้มนุษย์สามารถมองเห็นโลกที่อยู่รอบ ตัวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล และทำให้มนุษย์เข้าใจในข้อมูลเหล่านั้น จึงช่วยส่งผลให้มนุษย์สามารถสร้างสรรค์วิธีในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ รวมถึงสามารถจัดการและควบคุมชีวิตสภาพแวดล้อมและงานของตัวเอง หรือแม้แต่สังคมและเศรษฐกิจของโลกได้

     เทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทยนั้น กล่าวได้ว่า ในปัจจุบันประเทศไทยเองก็ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและศักยภาพของเทคโนโลยี สารสนเทศมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นกุญแจไปสู่การพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ตลอดจนการบริหารงานของรัฐ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ (ธนัสถ์ เกษมไชยานันท์, 2544, หน้า 13-15)

ด้านการศึกษา
1. การเปิดใช้บริงานคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Aided Instruction--CAI) เป็นการเปิดใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอนและเรียนรู้
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม ซึ่งช่วยยกระดับการศึกษาของพลเมือง โดยการกระจายความรู้ไปยังชนบทที่ห่างไกล ทำให้ประชาชนในชนบทได้รับความรู้มากขึ้นกว่าเดิม
3. การสอนทางไกลระบบ video teleconference เป็นการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการสื่อสารสองทาง ผู้สอนและผู้เรียนอยู่ห่างไกลกันแต่สามารถถามตอบกันได้ทันที
4. การจัดทำสารานุกรม หนังสือหรือฐานข้อมูลทางการศึกษา โดยใช้มัลติมีเดียหรือสือประสมที่สามารถแสดงได้ทั้งภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงและข้อมูล
5. การนำเทคโนโลยีฐานข้อมูลมาใช้ในงานห้องสมุดหรือศูนย์ข้อมูล เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเอกสาร บทความ รายงาน หนังสือ ฯลฯ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ

ด้านการสาธารณสุข
1. เกิดทางหลวงสารสนเทศด้านการแพทย์และสาธารณสุข (health information highway) ซึ่งเป็นเส้นทางติดต่อของบุคคล ข้อมูล ฐานข้อมูล และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแพทย์และสาธารณสุข ดังนั้น ผู้ป่วยจะสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อติดต่อไปยังแพทย์เพื่อสอบถามหรือขอคำ ปรึกษา สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับยา บริษัทผู้ผลิตยาหรือบริษัทประกันสุขภาพได้ทันที
2. การติดตั้งระบบโทรเวชหรือการแพทย์ทางไกลผ่านดาวเทียม (telemedicine) ซึ่งช่วยให้นายแพทย์ในชนบทสามารถขอความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในกรุงเทพ มหานคร หรือในศูนย์ให้คำปรึกษาอื่น ๆ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างกันและกันทั้งทางด้านภาพ เช่น X-Ray และเสียงสัญญาณต่าง ๆ ที่เกิดจากเครื่องมือทางการแพทย์ รวมไปถึงการประชุมปรึกษาหารือกันโดยไม่ต้องเดินทางไกล ซึ่งนับเป็นการเปิดใช้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มรูปแบบ คือ ทั้งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการโทรคมนาคม
3. การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงพยาบาล เพื่อบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ดำเนินการตรวจรักษา จ่ายยา และคิดเงินค่ารักษาพยาบาล

ด้านสิ่งแวดล้อม
     เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น เช่นการเปิดใช้บริการระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (geographic information system) ของกระทรวง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นระบบฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติสำหรับการวางแผนด้านสิ่งแวดล้อมในระดับ นโยบาย

ด้านเศรษฐกิจ
1. ด้านการผลิต โดยการเปิดใช้งานหุ่นยนต์ในการผลิต ใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมเครื่องจักรและออกแบบผลิตภัณฑ์ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์แปลกใหม่และสวยงามมากขึ้น รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานที่ดีขึ้น
2. ด้านการเงิน โดยการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธนาคาร ทำให้เกิดระบบออนไลน์ต่างสาขาและระบเงินด่วน หรือ ATM
3. ด้านธุรกิจ โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานด้านสำนักงานอัตโนมัติงานบัญชี ซึ่งทำให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปโดยสะดวกมากขึ้น จึงทำให้สามารถตัดสินใจในด้านที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การขยายตัว หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วมากขึ้น และส่งผลให้บริษัทที่รู้จักนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้เพิ่มกำไรมากขึ้น
 http://www.jadtem.com/4473/ กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)

 http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html  กล่าวไว้ว่า ทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)มาจากการผสมคำระหว่างสารสนเทศ (Information)กับคำว่าเทคโนโลยี(Technology) เทคโนโลยี หมายถึง เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงหมายถึง การติดต่อสื่อสาร การส่งข้อมูลทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ ตัวเลข เสียง ภาพโดยผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่าย โดยผ่านระบบโทรคมนาคม
เทคโนโลยี สารสนเทศจึง หมายถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้างรายงาน การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สื่อสารข้อมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้
สรุป
เทคโนโลยีสารสนเทศ
            หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล
การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่
เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้


อ้างอิง
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=5894.0;wap2      เข้าถึงเมื่อ 15/7/2555
http://www.jadtem.com/4473/    เข้าถึงเมื่อ 15/7/2555
http://siriwadee.blogspot.com/2008/05/blog-post_27.html    เข้าถึงเมื่อ 15/7/2555

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น